วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1


นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น 

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น 

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์ 

4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน 

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. หาวิธี ที่ทำให้คนเกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลาง
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และเป็นไปอย่างมีระบบโดยแปลงเนื้อหาจาก
นามธรรมให้เป็นรูปธรรม

บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านการผลิต
2. ด้านการออกแบบพัฒนา
3. ด้านการเลือกและการใช้
4. ด้านการบริการและให้คำปรึกษา
5. ด้านการบริหาร
6. ด้านการวิจัย

แนวโน้มบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นนักพัฒนาการสอน
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวิจัย
3. มีความสามารถในการบริหาร
4. เป็นผู้ให้บริการ
5. เป็นผู้ให้การฝึกอบรม
6. เป็นผู้ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม

คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านบุคลิกภาพ(คุณลักษณะส่วนตัว)
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
-มีความคิดสร้างสรรค์
-มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน
-เป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
-รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. ด้านความรู้(คุณลักษณะทางด้านวิชาชีพ)
-มีความรู้สามารถให้คำแนะนำ, ปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้ 
-มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษา
-สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ได้
-สามารถออกแบบ และผลิตสื่อการสอนได้
-รู้จักวางแผนและวางระบบการทำงาน
-รู้จักหลักการบริหารคน เงิน วัสดุ 

นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องมีความสามารถ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
2. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ใฝ่รู้ตลอดเวลา
3. มีความสามารถในการบริหารจัดการ
4. มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
5. มีความเป็นผู้นำในการใช้ช่องทางในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
6. มีความอดทน วิริยะอุตสาหะ พากเพียรในการทำงานเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้
7. มีใจรักในการงาน และมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
8. การเปิดใจรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และฟังเหตุผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือช่องทางที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้
9. ทำงานด้วยความจริงใจ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในปัจจุบัน
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานในสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่สามารถประกอบอาชีพอิสระทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบ
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง ต้องมีเครือข่ายในการเรียนรู้
แหล่งอ้างอิง
http://sirada53540387.blogspot.com/2010/09/14.html
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138